วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แนะนำวิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 122  



1. วางรองเท้าไว้หน้าห้องให้เป็นระเบียบ แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย มิฉะนั้นจะไม่อนุญาตให้เข้าใช้เครื่อง


2. ไม่อนุญาตให้นำอาหาร เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยวทุกชนิด เข้ามาภายในห้อง


3. ให้นักเรียนนั่งประจำที่ที่กำหนดร่วมกันครั้งแรก


4. ไม่อนุญาตให้ทำการย้าย ดัดแปลง สับเปลี่ยน ถอดอุปกรณ์ปลั๊กต่าง ๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะกรณีใดทั้งสิ้น


5. ไม่อนุญาตให้ทำการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มลงในเครื่อง ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น


6. ไม่อนุญาตให้เปิด Web site ลามกอนาจารโดยเด็ดขาด


7. ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นและไม่เดินไปมาในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์


8. ขออนุญาตครูผู้สอนทุกครั้งถ้าต้องการออกจากห้องเรียน ไปทำธุระส่วนตัว

9.   ไม่อนุญาตให้ใช้ไโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์สื่อสารใดๆ ระหว่างเรียน ในกรณีที่มีความจ าเป็น ต้องใช้งาน นักเรียนจะกระทำได้ต่อเมื่อ ได้รับอนุญาตจาก  ครูประจำวิชา เท่านั้น

10. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ตามระบบ ปิดสวิทช์จอภาพ จัดเมาส์ คีย์บอร์ด และเลื่อนเก้าอี้เก็บให้เป็นระเบียบก่อนออกจากห้องเรียนทุกครั้ง





คำอธิบายรายวิชาวิชาคอมพิวเตอร์


วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ม.2 รหัสวิชา ว 21103   เวลา 40 ชั่วโมง


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   


ศึกษาการออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา หรือการท างานที่พบในชีวิตจริง การออกแบบและ เขียนโปรแกรมที่ใช้ตรรกะและฟังก์ชันในการแก้ปัญหา การเขียนโปรแกรมโดยใช้ซอฟต์แวร์Scratch, python, java และ อภิปรายองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อประยุกต์ใช้งานหรือแก้ปัญหา เบื้องต้น ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สร้างและแสดงสิทธิในการเผยแพร่ผลงาน    สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่อมนุษย์ และสังคม ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม ประเภท ของวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้สามารถสร้างชิ้นงานได้ตรงกับความต้องการ มีความปลอดภัย และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า เครื่องกลใน การสร้างชิ้นงาน ได้แก่ รอก คาน ล้อและเพลา พื้นเอียง ลิ่ม สกรู เครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน เครื่องมือวัด เครื่องมือตัด เครื่องมือ ยึดติด เครื่องมือเจาะ เสียงและอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียง   ไฟฟำและอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแสง วงจรไฟฟูาและ การต่อตัวต้านทาน ประเภทและการต่อวงจรไฟฟ้า ความสัมพันธ์ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แนวคิด กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ระบบเทคโนโลยีการคิดเชิงออกแบบ แนวคิดหลักของการคิด เชิงออกแบบ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ และความคิดเชิงออกแบบของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
                โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) และการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็น ฐาน (Project-based Learning) เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์การแก้ปัญหา วาง แผนการเรียนรู้ ตรวจสอบการเรียนรู้ และนำเสนอผ่านการทำกิจกรรมโครงงาน เพื่อให้เกิดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะใน การวิเคราะห์โจทย์ปัญหา จนสามารถนำเอาแนวคิดเชิงคำนวณมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโครงงานได้

                เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ การนำข้อมูลปฐมภูมิเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ ประเมิน น าเสนอข้อมูลและ สารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ ใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริง และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อช่วย ในการแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างรู้เท่าทันและรับผิดชอบต่อสังคม ความสัมพันธ์ของความรู้วิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลให้มีการคิดค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า ผลของเทคโนโลยีต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนนำความรู้ความเข้าใจใน วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิต จนสามารถพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ มีความสามารถในการแก้ปัญหาและมีทักษะในการสื่อสาร มีความสามารถในการตัดสินใจ และเป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสะอาด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สาระ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
 ว 4.1 เทคโนโลยี (วิทยาการการคำนวณ)
ว 4.1 ม.2/1  คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีและวิเคราะห์เปรียบเทียบ ตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
ว 4.1 ม.2/2  ระบุปัญหาหรือความต้องการในชุมชนหรือท้องถิ่น สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลและแนวคิดที่ เกี่ยวข้องกับปัญหา
ว 4.1 ม.2/3  ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากร ที่มีอยู่ น าเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็น ขั้นตอน
 ว 4.1 ม.2/4 ทดสอบ ประเมินผล และอธิบายปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ภายใต้กรอบเงื่อนไข พร้อมทั้งหาแนวทางการ ปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผลการแก้ปัญหา
ว 4.1 ม.2/5 ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
ว 4.2 เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
ว 4.2 ม.2/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา หรือการท างานที่พบในชีวิตจริง
 ว 4.2 ม.2/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่ใช้ตรรกะ และฟังก์ชันในการแก้ปัญหา
 ว 4.2 ม.2/3 อภิปรายองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อประยุกต์ใช้งาน หรือแก้ปัญหาเบื้องต้น
ว 4.2 ม.2/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ สร้างและแสดงสิทธิในการเผยแพร่ผลงาน


รวมทั้งหมด 9 ตัวชี้วัด




อัตราการเก็บคะแนน 70 : 30

70 คือ คะแนนก่อนสอบกลางภาค25 คะแนน
คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน
คะแนนหลังสอบกลางภาค 25 คะแนน
30 คือ คะแนนสอบปลายภาค 30 คะแนน